ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: Human Development Index: HDI) เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮฺบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา
ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่
ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP)
ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในลำดับแรก ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา) เพื่อดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก
อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index)
ประเทศที่มี HDI มากที่สุดคือ นอร์เวย์ 0.938 และน้อยที่สุดคือ ซิมบับเว 0.140 อยู่ที่อันดับ 181 ส่วนประเทศไทย 0.722 อยู่ที่อันดับ 92 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี HDI เยอะที่สุดคือสิงคโปร์ 0.846 อยู่ที่อันดับ 27 ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 11 ของเอเชีย (ไม่รวมตะวันออกกลาง) ประเทศที่มี HDI น้อยที่สุดในเอเชียคือ อัฟกานิสถาน 0.349 อยู่ที่อันดับ 180 ของโลก และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ พม่า 0.451 อยู่ที่อันดับ 132.
ทั้งนี้ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ถูกนำไปใช้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจคือการคำนึงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรายได้ หากแต่รวมถึงสุขภkrและการศึกษาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของดัชนีการพัฒนามนุษย์
ในทวีปเอเชีย 5 อันดับแรกมีดังนี้ ประเทศญี่ปุ่น(อันดับโลก 12), ฮ่องกง(อันดับโลก 13), ประเทศเกาหลีใต้(อันดับโลก 15), ประเทศอิสราเอล(อันดับโลก 17), และประเทศสิงคโปร์(อันดับโลก 26)
1.วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์. (2557). การศึกษาการลดความยากจนและการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศต่างๆทั่วโลก. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.